วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การศึกษาไทย (Thai Education)

การศึกษาของไทยควรเริ่มต้นจากสถาบัน “ครอบครัว” คือ “บ้าน” ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก เป็นที่ที่เด็กได้
รับความรักและความรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายายเปรียบเสมือน “ครู” คนแรก ที่เป็นผู้เลี้ยงดู
อบรมสั่งสอน หุงหาอาหาร ปกป้องคุ้มภัย และพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปหาหมอ

เมื่อเด็กเล็กเดินได้ พูดจาพอรู้เรื่อง อายุครบ ๓ ขวบ ก็ถึงเกณฑ์เข้ารับ “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” ที่ถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่
ผู้ปกครองที่จะพาเด็กเข้าเรียน “ชั้นอนุบาล” การเรียนอนุบาลหรือเตรียมอนุบาลเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กก่อนเรียนชั้นประถมศึกษา เด็กจะได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะทักษะการใช้มือ ความมีระเบียบวินัย
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การพูดจาไพเราะ การไหว้ การกล่าวคำสวัสดี ขอโทษ และขอบคุณ ฝึกรับประทานอาหารเอง รู้จัก
สุขอนามัยที่ดี ฝึกทักษะมือทำงานศิลปะ เช่น ระบายสี วาดรูป ได้ออกกำลังกาย ร้องรำทำเพลง ไปจนถึงฝึกเขียนอักษร
และพยัญชนะไทย และตัวเลข การเรียนชั้นอนุบาลนี้ใช้เวลา ๓ ปี

ต่อจากนั้นเด็กจะเข้าเรียน “ประถมศึกษา” โดยใช้เวลาเรียน ๖ ปี เพื่อศึกษาหาความรู้หมวดวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นหลักสูตร
มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) วิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สสน.)
การงานพื้นฐานอาชีพ (กพอ.) วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย เด็กๆ จะได้ความรู้รอบตัว เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงออก เห็นวี่แววความถนัดพิเศษในบางวิชาของเด็ก

เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วเด็กๆ จะเข้าเรียนต่อในระดับ “มัธยมศึกษา” ต่อเนื่องอีก ๖ ปี โดย ๓ ปีแรกเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา พระพุทธศาสนา สุขศึกษา พลศึกษา และศิลปศึกษา แล้วเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีก ๓ ปีโดยใน ๓ ปีหลังนี้เด็กจะเลือกเรียนสายใดสายหนึ่งใน ๓ สายตามความสนใจและความถนัดของตน คือ สายวิทย์ สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา เด็กไทยจำนวนมากอาจไม่สามารถหรือไม่มีโอกาสได้เรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพราะความยากจน พ่อแม่ไม่สนับสนุน ต้องช่วยเหลือทางบ้านทำมาหากิน เลี้ยงน้อง บ้านไกล หรือมีอุปสรรคบางประการ สรุปว่าเด็กแต่ละคนจะใช้เวลา ๑๒ ปี
เรียนหนังสือให้จบการศึกษาภาคบังคับตามที่ภาครัฐกำหนด

อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนยังมีทางเลือกในระหว่างที่เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ถ้าหากต้องการเลือกศึกษาต่อสาย
อาชีพ เพราะต้องการออกไปประกอบอาชีพสายพาณิชย์ หรือสายช่างกลด้วยมีความถนัดและรักในงานอาชีพ ก็สามารถ
เลือกเรียนต่อ “อาชีวศึกษา” ได้ โดยสายอาชีวศึกษาได้จัดเตรียมหลักสูตรเพื่อการศึกษาอีก ๓ ปีต่อจากมัธยมศึกษาปีที่
๓ จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหากศึกษาในสายอาชีวศึกษาต่อเป็นเวลา ๖ ปี จะได้รับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าอนุปริญญา

ส่วนเด็กที่ตั้งเป้าหมายศึกษาต่อในระดับ “อุดมศึกษา” หรือ “มหาวิทยาลัย” ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษา
ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และผ่านการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยปัจจุบันการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
มีการเก็บผลคะแนนเฉลี่ยสะสม ๓ ปีจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ มารวมกับผลการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยด้วย
ดังนั้นช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะส่งผลถึงอนาคตของเด็กและเยาวชนคือการเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผู้ปกครองและครู
จึงมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่เด็ก โดยพิจารณาความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กตัดสินใจเลือกทางเดินสู่อนาคตได้อย่าง
สมเหตุผลและถูกทิศทาง การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยเปิด ซึ่ง
ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนรักและฝันอยากจะเป็นในอนาคต เป้า
หมายการเป็นบัณฑิตคือ การนำความรู้คู่คุณธรรมไปประกอบสัมมาอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิศวกร
สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ นักสื่อสารมวลชน ครู/อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงินการธนาคาร นักธุรกิจ เป็นต้น
เพื่อช่วยเหลือตัวเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป

เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโลกโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
ไม่สิ้นสุด ทำให้การสภาพการแข่งขันสูงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ ผู้คนขวนขวายเรียนรู้
มากขึ้น เป้าหมายการศึกษาของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่และที่มีกำลังความสามารถจึงมีความต้องการศึกษาสูงขึ้นใน
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีทางเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ในประเทศและ
ต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและมีบริการด้านการศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ

นอกเหนือจากระบบการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในระบบนี้ แต่ก็ยังมีเด็ก
และเยาวชนด้อยโอกาสอีกจำนวนไม่น้อยที่แม้จะไม่ได้อยู่ในระบบนี้ แต่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนก็
ได้ร่วมมือดูแลให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เช่น กลุ่มเด็กพิการ ตาบอด หูหนวก พิการทางสมอง พิการ
ซ้ำซ้อน เด็กออทิสติก การศึกษาพิเศษเหล่านี้นับรวมถึง ระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดให้มีห้องสมุดชุมชนเพื่อการเรียนรู้ด้วตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ในชุมชนด้วยภูมิปัญญา
ท้องถิ่นด้วย

เหนือสิ่งอื่นใด “การศึกษา” น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนเป็น “คนที่มีคุณภาพ” เพราะการศึกษาเป็นขบวนการทำ
ให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนคนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์กับตนเอง กับครอบครัว
ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยส่วนรวม
ขอบคุณ http://sinothai.youth.cn/jyzd/tg/200709/t20070921_593868.htm

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Social Media คือ ? / คำอธิบายและตัวอย่าง

ทุกวันนี้ พวกเราหลายคนใช้ชีวิตอยู่กับ Social Network และ Social Media มากขึ้นทุกวัน แต่พอพูดถึง ‘Social Media’ ว่าคืออะไร หลายคนที่ใช้อยู่ ก็ยังถึงกับอึ้ง และตอบไม่ได้ว่ามันคืออะไร และไม่รู้จะอธิบายอย่างไร วันนี้ Marketing Oops! เลยขอทำหน้าที่อธิบายคำๆ นี้แทน เพื่อให้คนที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้วสามารถอธิบายต่อให้คนอื่นทราบได้ และสำหรับคนที่ยังไม่เคยรู้ ก็สามารถทำความรู้จักได้เช่นกัน



Social ในที่นี้หมายถึง สังคมออนไลน์
Media ในที่นี้หมายถึง เนื้อหา เรื่องราว และบทความ
Social Media จึงหมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบัน การสื่อสารแบบนี้ จะทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือเท่านั้น
เนื้อหาของ Social Media โดยทั่วไปเปรียบได้หลายรูปแบบ ทั้ง กระดานความคิดเห็น (Discussion boards), เว็บบล็อค (Weblogs), วิกิ (wikis), Podcasts, รูปภาพ และวิดีโอ ส่วนเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหาเหล่านี้ก็รวมถึง เว็บบล็อค (Weblogs), เว็บไซต์แชร์รูปภาพ, เว็บไซต์แชร์วิดีโอ, เว็บบอร์ด, อีเมล์, เว็บไซต์แชร์เพลง, Instant Messaging, Tool ที่ให้บริการ Voice over IP เป็นต้น



เว็บไซต์ ที่ให้บริการ Social Network หรือ Social Media
Google Group – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



Wikipedia – เว็บไซต์ในรูปแบบข้อมูลอ้างอิง



MySpace – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



Facebook -เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



MouthShut – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews



Yelp – เว็บไซต์ในรูปแบบ Product Reviews



Youmeo – เว็บที่รวม Social Network



Last.fm – เว็บเพลงส่วนตัว Personal Music



YouTube – เว็บไซต์ Social Networking และ แชร์วิดีโอ



Avatars United – เว็บไซต์ในรูปแบบ Social Networking



Second Life – เว็บไซต์ในรูปแบบโลกเสมือนจริง Virtual Reality



Flickr – เว็บแชร์รูปภาพ



เว็บ Social Media แบ่งตามหมวด-->

หมวดการสื่อสาร (Communication)
Blogs: Blogger, LiveJournal, TypePad, WordPress, Vox
Internet forums: vBulletin, phpBB
Micro-blogging: Twitter,Plurk, Pownce, Jaiku
Social networking: Avatars United, Bebo, Facebook, LinkedIn, MySpace, Orkut, Skyrock, Netlog, Hi5, Friendster, Multiply
Social network aggregation: FriendFeed, Youmeo
Events: Upcoming, Eventful, Meetup.com

หมวดความร่วมมือ และแบ่งปัน (Collaboration)
Wikis: Wikipedia, PBwiki, wetpaint
Social bookmarking: Delicious, StumbleUpon, Stumpedia, Google Reader, CiteULike
Social news: Digg, Mixx, Reddit
Opinion sites: epinions, Yelp

หมวด มัลติมีเดีย (Multimedia)
Photo sharing: Flickr, Zooomr, Photobucket, SmugMug
Video sharing: YouTube, Vimeo, Revver
Art sharing: deviantART
Livecasting: Ustream.tv, Justin.tv, Skype
Audio and Music Sharing: imeem, The Hype Machine, Last.fm, ccMixter

หมวดรีวิว และแสดงความคิดเห็น (Reviews and Opinions)
Product Reviews: epinions.com, MouthShut.com, Yelp.com
Q&A: Yahoo Answers

หมวดบันเทิง (Entertainment)
Virtual worlds: Second Life, The Sims Online
Online gaming: World of Warcraft, EverQuest, Age of Conan, Spore (2008 video game)
Game sharing: Miniclip

SSL และ SSH สำหรับการส่งข้อมูลบน Internet ให้ปลอดภัย

SSL และ SSH สำหรับการส่งข้อมูลบน Internet ให้ปลอดภัย

SSL และ SSH สำหรับการส่งข้อมูลบน Internet ให้ปลอดภัย

ในระหว่างการพัฒนาเครือข่าย Internet ในระยะเริ่มแรกนั้น ไม่ได้มีการเน้นในการพัฒนาด้านความปลอดภัยในการส่งข้อมูลบนเครือข่าย เนื่องจากในระยะนั้นเครือข่าย Internet นี้ถูกใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มนักวิจัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันต่างๆไม่กี่กลุ่ม ซึ่งมีความรู้จักคุ้นเคยกันและมีความเชื่อถือต่อกันและกัน ดังนั้นข้อมูลที่ถูกส่งไปบนเครือข่าย Internet จึงเป็นลักษณะของข้อมูลที่ไม่ได้เข้ารหัสลับใดๆ หรือที่เรียกกันว่า cleartext จนทุกวันนี้การส่งข้อมูลส่วนใหญ่บนเครือข่าย Internet ก็ยังคงลักษณะนี้อยู่

ในปัจจุบัน ผู้ใช้เครือข่าย Internet มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก และเครือข่ายนี้ถูกใช้งานในรูปแบบต่างๆมากมายหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องส่งข้อมูลที่เป็นความลับถึงกันและกัน เช่น ผู้ซื้อส่งหมายเลขบัตรเครดิตหรือที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์โดยส่งผ่านไปบนเครือข่าย Internet หากข้อมูลเหล่านี้ถูกส่งไปแบบธรรมดาก็จะเป็นการค่อนข้างง่ายที่ผู้ไม่หวังดีจะสามารถดักจับข้อมูลเหล่านี้ (sniffing) แล้วนำไปใช้ได้ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้อยู่ในรูปของ cleartext ผู้ดักจับข้อมูลก็จะสามารถนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้ทันที

ในอีกกรณีหนึ่ง บนเครือข่าย Internet นี้ ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆก็ได้หากผู้ใช้นั้นได้รับอนุญาตและสามารถพิสูจน์ตนเองโดยใช้ username และ password ที่ถูกต้องบนเครื่องนั้นๆ โดยจะมีโปรแกรมที่ใช้ช่วยในการเชื่อมต่อและใช้งานนั้น เช่น telnet, rsh, rlogin, rcp, และ ftp เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้ส่งข้อมูลตามแบบมาตรฐานดั้งเดิมของเครือข่าย Internet กล่าวคือ ส่งข้อมูลทุกอย่าง (รวมทั้ง username และ password) ในรูปของ cleartext ดังนั้นหากมีผู้ดักจับข้อมูลเกี่ยวกับ username และ password ได้ ผู้นั้นก็จะสามารถนำเอา username และ password นี้ไปใช้ในการเชื่อมต่อและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้ต่อไป

เนื่องจากปัญหาที่กล่าวมานี้เป็นปัญหาที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะการ sniffing นั้นสามารถกระทำได้อย่างค่อนข้างง่าย จึงได้มีการคิดแก้ไขปัญหานี้ขึ้นโดย Netscape ได้คิดค้น protocol ใหม่ขึ้นมาคือ Secure Socket Layer Protocol (SSL) และโปรแกรมเมอร์ชาว Finland ได้เขียนโปรแกรมขึ้นชุดหนึ่ง เรียกว่า Secure Shell (SSH) ซึ่งทั้ง SSL และ SSH จะเข้ารหัสลับข้อมูลใดๆก่อนที่ข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปบนเครือข่าย Internet ดังนั้น หากผู้ไม่หวังดีสามารถดักจับข้อมูลนั้นไปได้ ผู้นั้นก็ไม่สามารถที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ได้เพราะเขาไม่สามารถตีความข้อมูลนั้นได้

SSL นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางบน world wide web ในการใช้สำหรับตรวจสอบและเข้ารหัสลับการติดต่อสื่อสารระหว่าง client และ server หน้าที่ของ SSL จะแบ่งออกเป็น ๓ ส่วนใหญ่ๆคือ

1. การตรวจสอบ server ว่าเป็นตัวจริง: ตัวโปรแกรม client ที่มีขีดความสามารถในการสื่อสารแบบ SSL จะสามารถตรวจสอบเครื่อง server ที่ตนกำลังจะไปเชื่อมต่อได้ว่า server นั้นเป็น server ตัวจริงหรือไม่ โดยใช้เทคนิคการเข้ารหัสแบบ public key ในการตรวจสอบใบรับรอง (certificate) และ public ID ของ server นั้น (โดยที่มีองค์กรที่ client เชื่อถือเป็นผู้ออกใบรับรองและ public ID ให้แก่ server นั้น)

หน้าที่นี้ของ SSL เป็นหน้าที่ที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ client ต้องการที่จะส่งข้อมูลที่เป็นความลับ (เช่น หมายเลข credit card) ให้กับ server ซึ่ง client จะต้องตรวจสอบก่อนว่า server เป็นตัวจริงหรือไม่

2. การตรวจสอบว่า client เป็นตัวจริง: server ที่มีขีดความสามารถในการสื่อสารแบบ SSL จะใช้เทคนิคเช่นเดียวกับในหัวข้อที่แล้วในการตรวจสอบ client หรือผู้ใช้ว่าเป็นตัวจริงหรือไม่ โดยจะตรวจสอบใบรับรองและ public ID (ที่มีองค์กรที่ server เชื่อถือเป็นผู้ออกให้) ของ client หรือผู้ใช้นั้น

หน้าที่นี้ของ SSL จะมีประโยชน์ในกรณีเช่น ธนาคารต้องการที่จะส่งข้อมูลลับทางการเงินให้แก่ลูกค้าของตนผ่านทางเครือข่าย Internet (server ก็จะต้องตรวจสอบ client ก่อนว่าเป็น client นั้นจริง)

3. การเข้ารหัสลับการเชื่อมต่อ: ในกรณีนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่ถูกส่งระหว่าง client และ server จะถูกเข้ารหัสลับ โดยโปรแกรมที่ส่งข้อมูลเป็นผู้เข้ารหัสและโปรแกรมที่รับข้อมูลเป็นผู้ถอดรหัส (โดยใช้วิธี public key) นอกจากการเข้ารหัสลับในลักษณะนี้แล้ว SSL ยังสามารถปกป้องความถูกต้องสมบูรณ์ของข้อมูลได้อีกด้วย กล่าวคือ ตัวโปรแกรมรับข้อมูลจะทราบได้หากข้อมูลถูกเปลี่ยนแปลงไปในขณะกำลังเดินทางจากผู้ส่งไปยังผู้รับ

ส่วน SSH นั้นเป็นโปรแกรมชุดหนึ่งที่ใช้เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลออกไปโดยผ่านทางเครือข่าย Internet เพื่อที่จะ execute หรือ run คำสั่งบนเครื่องนั้น หรือเพื่อที่จะย้าย file จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง SSH ทำให้เกิดมีการพิสูจน์ทราบถึงตัวจริงและช่วยใหมีการสื่อสารที่ปลอดภัยโดยใช้ระบบการเข้ารหัสลับที่แข็งแกร่งบนช่องการสื่อสารที่ไม่ปลอดภัย

SSH ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทนโปรแกรม telnet, rlogin, rsh, และ rcp ใน version ล่าสุดของ SSH คือ SSH2 นั้นมีโปรแกรมที่ใช้แทนโปรแกรม ftp เพิ่มขึ้นมาอีก นอกจากนี้ SSH ยังสามารถให้ความปลอดภัยแก่การเชื่อมต่อในรูปของ X และ TCP ต่างๆอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

ความหมายของสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์หรืออีออฟฟิศ

สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย

ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) รวมถึง ระบบข้อมูลสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่มีจุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย, คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง

หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ถูกมองว่า มีเพียงหน้าที่แก้ปัญหาในการทำงาน แต่ในปัจจุบัน ระบบที่ช่วยเสริมการติดต่อ สื่อสารในสถานที่ทำงาน ถูกมองว่ามีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเดียวกับระบบ TPS, MIS และ ISS

สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ในปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไกล และ ระบบไปรษณีย์ เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่

การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานในสำนักงาน อาจเรียกว่า “สำนักงานอัตโนมัติ หรือโอเอ (OA = Office Automation)” อาทิ

1.ประมวลผลคำ

2.บัญชี

3.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น


www.eoffice.de

ตัวอย่างเว็บอีออฟฟิศ

เว็บ “ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (www.au.edu)” เป็นเว็บเกี่ยวกับการใช้อีออฟฟิศ ภายในองค์กร ของมหาวิทยาลัยอัชสัมชัญ

-มีคอมพิวเตอร์ประมาณ 4,000 เครื่อง
-
เชื่อมต่อกันโดยระบบอินเทอร์เน็ต
-
ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ
-
ซอฟต์แวร์ตารางทำการ
-
ซอฟต์แวร์ข้อมูล
-
ซอฟต์แวร์การนำเสนอ
-
ซอฟต์แวร์ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

www.au.edu

เว็บ “ ดีพีดีซอฟต์แวร์ดอตซีเอ (www.dpdsoftware.ca)” เป็นเว็บบริษัทในแคนาดาให้บริการคำปรึกษา เกี่ยวกับการใช้อีออฟฟิศในธุรกิจ อาทิ

- วางระบบเครือข่ายในองค์กร อาทิ
1.
ระบบแลน (LAN = Local Area Network)
2.
ระบบแวน (WAN = Wide Area Network)
-
การนำซอฟต์แวร์ต่างๆ มาใช้ อาทิ

1. ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ
2.
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
3.
ระบบข้อมูลลูกข่าย เป็นต้น

www.dpdsoftware.ca

การประยุกต์ใช้ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

  1. Electronic Images มีการสร้างระบบ Electornic imaging management system (EIM) เพื่อจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งภาพถ่าย ใบแจ้งหนี้ และประวัติส่วนบุคคล บนเครื่องคอมพิวเตอร์ และเรียกใช้งานได้อย่างทันที ระบบดังกล่าว ต้องใช้เครื่อง Scanner ที่มีความเร็วและสามารถแสดงผลของภาพที่มีความละเอียดสูงเพื่อแปลงเอกสารให้ไปอยู่ในรูปของ Digital และ Optical Disk ที่สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งยังมี Software ที่สามารถบีบข้อมูลเพื่อจัดเก็บได้ รวมทั้งต้องมีเครื่องพิมพ์ Laser Printer ที่แสดงผลการพิมพ์ภาพที่มีคุณภาพ ระบบนี้มีกระบวนการแปลงให้เป็นกระดาษอิเลคทรอนิส์ ดังนี้

    1. Image Processing เป็นการ Scan กระดาษเพื่อเปลี่ยนให้เป็น Image ให้สามารถจัดเก็บในฐานข้อมูลเพื่อเรียกใช้ต่อไป

    2. Image Workflow เป็นการ Scan กระดาษและส่งต่อในรูปแบบ ของอิเลคทรอนิกส ์เพื่อให้พนักงานทำงาน แต่ละกระบวนการให้เสร็จ

    3. Image enabling เป็นการแสกนกระดาษและส่งเวียนภายในบริษัท หลักจากนั้นก็ใช้ Software Optical Charactor เพื่อแปลงให้เป็นข้อความในรูปแบบของรหัส ASCII

  2. The Virtual Office เป็นการติดต่อโดยการใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้สามารถทำงานที่บ้าน เช่น การสร้างสำนักงานเสมือนจริงเพื่อให้พนักงานที่ต้องเดินทางบ่อยๆ มาประชุมร่วมกัน และการให้พนักงานทำงานที่บ้านโดยการติดต่อสื่อสารกับบริษัทผ่านระบบเครือข่ายระยะไกล อุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสำนักงานเสมือนจริงได้แก่ คอมพิวเตอร์แบบพกพา Modem โทรศัพท์เคลื่อนที่ เครื่องโทรสาร และ Software ที่ช่วยจัดการกระบวนการทำงานและการติดต่อสื่อสารระยะไกล

  3. Work-flow Automation การสร้าง Workflow อัตโนมัติเป็นความพยายามในการปรับปรุงความพอใจของลูกค้า โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการควบคุมกระบวนการปฏิบัติงานและการผลิตแต่ละวัน รวมทั้งการประสานงานกับการปฏิบัติงานของหน่วยต่างๆภายในบริษัท ระบบนี้สามารถเพิ่มความสามารถในการประสานงานและควบคุมการไหลเวียนของ กิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และกระบวนการต่างๆของธุรกิจนอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานสามารถกำหนดขั้นตอน การปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน และปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดขึ้น

  4. การบริหารจัดการงานเอกสาร (Document Management) เป็นการแยกกลุ่มของบริการที่สามารถให้ผู้ใช้งานติดตามเอกสารอิเลคทรอนิกส์ ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถติดตามและเรียกข้อมูลมาใช้อย่างรวดเร็ว ระบบการบริหารงานเอกสารที่ซับซ้อนสามารถจัดการเอกสารจากระบบงานต่างๆของ บริษัทได้ทั้งหมด ระบบนี้มี 3 องค์ประกอบ คือ

    1. การสร้างเอกสาร (Document Creation) ระบบการจัดการเอกสารที่มีคุณภาพจะต้องมีการเขียน Software ที่สามารถบูรณาการงานจากแหล่งข้อมูลต่างๆได้อย่างง่าย

    2. การจัดเก็บและจัดเส้นทางเดินของเอกสาร (Document Storgae and Routing) ระบบนี้ต้องการ Software ที่สามารถจัดเก็บและเข้าถึงเอกสาร ติดตามสถานะของเอกสารและกำหนดความปลอดภัยของข้อมูล

    3. การเรียกใช้และจัดการเอกสาร ( Document Retrieve and Manipulation) สามารถในการเรียกเอกสารเพื่อพิมพ์ได้อย่างสมบูรณ์

  5. Sale Force Automation เป็นการออกแบบเพื่อควบคุมการขายสินค้าอัตโนมัติ เพื่อให้พนักงานขายสามารถติดตามยอดขาย คำขอบริการจากลูกค้า และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานขายสินค้า

  6. การบริการลูกค้า (Customer service) เป็นการจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าและการปรับปรุงรายการสินค้า อันประกอบด้วย ฐานข้อมูลลูกค้าและระบบที่สามารถทำให้พนักงานสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า

  7. ระบบบูรณาการ (Integrated System) เป็นการออกแบบระบบที่บูรณาการที่สร้างความเชื่อมโยงความต้องการของลูกค้า และบริษัท ของระบบการขายและการตลาด ที่มีเชื่อมโยงการให้บริการลูกค้าและการจัดการของบริษัท ได้แก่ ระบบบัญชี ระบบการผลิต ระบบการสั่งซื้อ และฐานข้อมูลลูกค้า


ข้อดี ข้อเสีย ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

ข้อดี ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

  1. ลดเวลาในการติดต่อสื่อสาร

  2. เพิ่ม ขีดความสามารถของพนักงานในการซื้อบ้าน ที่อยู่ไกลจากตัวเมืองได้ เนื่องจากบ้านที่อยู่ในเมืองนั้นมีราคาแพง ซึ่งจะลดปัญหาเรื่องการเดินทาง

  3. เพิ่มความสามารถของพนักงานในการสามารถควบคุมตนเองได้

  4. อนุญาตให้พนักงานที่มีความสามารถ และรอบรู้สามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้

  5. บริษัทสามารถติดต่อกับตลาดและบริษัทต่างประเทศนอกเวลาทำงาน

  6. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานและลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานต่างๆภายในสำนักงาน

  7. การใช้เครื่องจักรแทนการปฏิบัติงานของมนุษย์เป็นการออกแบบวิธีการปฏิบัติงานที่มนุษย์ทำอยู่ใหม่

  8. ช่วยอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน

  9. ประหยัดสถานที่จัดเก็บเอกสาร

  10. เพิ่มความสะดวก รวดเร็วในการจัดเก็บรวบรวมและค้นหา ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน

  11. ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานในสำนักงาน เช่น ด้านแรงงาน ด้านเครื่องมือ และด้านสถานที่จัดเก็บเอกสาร

  12. ปรับปรุงการปฏิบัติงานเป็นแบบโลกาวิวัฒน์ หรือสำนักงานเสมือนจริง (Virtual Office)

ลดขั้นตอนของเจ้าหน้าที่ในการจัดทำต้นฉบับ จัดทำสำเนา และทำลายเอกสาร

  1. ลดภารกิจในการเดินทางไปประชุม มาเป็นการประชุมผ่านคอมพิวเตอร์

  2. ลดปัญหาการจัดทำ จัดเก็บเอกสารซ้ำซ้อน โดยใช้หลักการสำนักงานปราศจากเอกสาร
    (Paperless Office)


ข้อเสีย ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

  1. ลดการติดต่อแบบตัวต่อตัว (face-to-face) ระหว่างพนักงานในบริษัท

  2. ทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าสูญเสียอำนาจการควบคุมลูกน้อง

  3. การใช้ระบบอัตโนมัติในชีวิตประจำวันอาจทำให้เกิดความเสี่ยงเมื่อระบบการควบคุมอัตโนมัติปฏิบัติงานผิดพลาด

  4. มี การเปลี่ยนแปลง วิธีปฏิบัติงานอาจทำให้พนักงาน ไม่ยอมรับการ ปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติงาน และต้องการ การฝึกอบรมเพิ่มเติม

  5. ผู้ บริหารต้องลงทุนสูง ซึ่งต้องวิเคราะห์ความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การปฏิบัติงาน ของพนักงาน


ข้อสรุป ของ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)

  1. สำนักงาน อิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ทำให้เกิดการเพิ่มความรู้ให้แก่พนักงาน และใช้ประโยชน์สำหรับการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ การกระจายสารสนเทศไปยังกลุ่มเป้าหมายต่างๆ อำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทางเสียงและข้อความ และลดข้อจำกัดการติดต่อสื่อสารทั้งเรื่องสถานที่และเวลา รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการ เพิ่มผลิตผลในการปฏิบัติงานของพนักงานและเพิ่มความรับผิดชอบขององค์กรต่อ ลูกค้า

  2. เครื่องมือของระบบสำนักงานอิเลคทรอนิกส์ รวมถึง ระบบการประมวลผลและสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์ และระบบการติดต่อสื่อสารของกลุ่ม ระบบดังกล่าวหมายถึง การประมวลผลคำ สิ่งพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing) จดหมายอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Mail) Voice Mail เครื่องโทรสาร การประชุมทางไกลผ่านเสียงและจอภาพ และ Imaging ซึ่งระบบการประมวลผลและสิ่งพิมพ์อิเลคทรอนิกส์อำนวยความสะดวกในการติดต่อ สื่อสารผ่านเสียงและการเขียน ขณะที่ระบบการประชุมอิเลคทรอนิกส์เน้นที่การติดต่อสื่อสารภายในกลุ่ม

  3. เครื่องมือของ สำนักงานอิเลคทรอนิกส ์ก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสาร ผ่านการเขียนและสามารถเพิ่มผลผลิตของการปฏิบัติงาน เครื่องมือของสำนักงานอัตโนมัติมีการออกแบบสำหรับการติดต่อสื่อสารโดยการ เขียน รวมถึง การประมวลผลคำ DesktopPublishing ระบบการจัดการเอกสาร(ที่เป็น Imaging และ Multimedia) จดหมายอิเลคทรอนิกส์และเครื่องโทรสาร Imaging เป็นการเปลี่ยนกระดาษ Microfilm และ Micorfiche ให้เป็นสื่อในรูปของ Digital ซึ่งสามารถแก้ไข และปรับปรุงให้สามารถใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และสามารถเพิ่มเติมเรื่องการใช้สื่อประสม (Multimedia) บนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยบูรณาการสื่อต่างๆ เช่น ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว โสตทัศน์ และวิดิทัศน์ ระบบจดหมายอิเลคทรอนิกส์ช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลและกลุ่ม ต่างๆ และเครื่องโทรสารสามารถใช้โทรศัพท์ โมเดม และเครื่องScan ในการส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและรูปภาพไปยังบุคคลและองค์กรต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง

  4. เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกสำหรับการติดต่อสื่อสารทางการพูด และเพิ่มผลผลิตในการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่ช่วยคือ Voice Mail ระบบการประชุมอิเลคทรอนิกส์ เช่น การประชุมทางไกลผ่านจอภาพและทางเสียง การใช้โปรแกรม Groupware Voice Mail สามารถทำให้ผู้ใช้งานรับและส่งข่าวสารได้อย่างสะดวก การประชุมทางไกลผ่านทางเสียงทำให้ผู้ใช้งานมากกว่า 2 คน สามารถติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ในเวลาเดียวกัน และการประชุมทางไกลผ่านจอภาพโดยใช้โทรศัพท์ โทรทัศน์ จอภาพ และเครื่องคอมพิวเตอร์ และสื่อสารโทรคมนาคมติดต่อไปยังสถานที่ต่างๆโดยไม่จำเวลาและสถานที่ และการใช้งาน Groupware ยังรวมถึงการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่ม (Group Discussion Support System (GDSS) กระดานข่าวอิเลคทรอนิกส์ตารางนัดหมายการประชุมและปฏิทิน ซึ่งสามารถสนับสนุนให้เกิดการสื่อสารผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และเกิดการประสานความร่วมมือภายในกลุ่ม

ที่มาของข้อมูล

http://www.mfatix.com/home/node/130

http://www.eeverything.info/eOffice/index.htm






วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์
สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น นับเศษไม้ ก้อนหิน ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า “ลูกคิด” (Abacus) โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็ก ๆ ที่ฉลาด ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

ลูกคิด
ความพยายามที่จะผลิตเครื่องมือนับเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองที่จะต้องคิดคำนวณจำนวนเลขต่าง ๆ มีอยู่ตลอดเวลา จากเครื่องที่ใช้มือ มาใช้เครื่องจักร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้ค.ศ. 1617 : จอห์น เนเปียร์ (John Nepier) ชาวสก็อต ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข “เนเปียร์ส โบนส์” (Nepier’s Bones)ค.ศ. 1632 : วิลเลี่ยม ออตเทรด (William Oughtred) ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rules) เพื่อใช้ในทางดาราศาสตร์ ถือเป็น คอมพิวเตอร์อนาลอก เครื่องแรกของโลก ค.ศ. 1642 : เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal: 1623 - 1662) ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขแบบมีเฟืองหมุนคือมีฟันเฟือง 8 ตัว เมื่อเฟืองตัวหนึ่งนับครบ 10 เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไปอีกหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งหลักการนี้เป็นรากฐานของการพัฒนาเครื่องคำนวณ และถือว่า เครื่องบวกเลข (Adding Machine) ของปาสคาลเป็น เครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก
Adding Machine ของ ปาสคาล
ค.ศ. 1673 : กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ (Gottfried von Leibniz : 1646 - 1716) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน ออกแบบเครื่องคิดเลขแบบใช้เฟืองทดเพื่อทำการคูณด้วยวิธีการบวกซ้ำ ๆ กัน ไลบนิซเป็นผู้ค้นพบจำนวนเลขฐานสอง (Binary Number) ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 เป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ เครื่องคิดเลขที่ไลบนิซสร้างขึ้น เรียกว่า Leibniz Wheel สามารถ บวก ลบ คูณ หาร ได้
ค.ศ. 1804 : โจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph Marie Jacquard : 1752 - 1834) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดประดิษฐ์ Jacquard’s Loom เป็นเครื่องทอผ้าที่ควบคุมการทอผ้าลายสีต่าง ๆ ด้วยบัตรเจาะรู (Punched – card) จึงเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร (Punched – card machine) สำหรับเจาะบัตรที่ควบคุมการทอผ้าขึ้น และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้โปรแกรมสั่งให้เครื่องทำงานเป็นเครื่องแรก
ค.ศ. 1822 : ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage: 1792 - 1871) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ มีแนวความคิดสร้างเครื่องหาผลต่าง เรียกว่า Difference Engine โดยได้รับความช่วยเหลือจากราชสมาคม (Royal Astronomical Society) ของรัฐบาลอังกฤษ สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1832
Charles Babbage
จากนั้นในปี ค.ศ. 1833 ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้คิดสร้างเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนควบคุม และส่วนคำนวณ โดยออกแบบให้ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำเป็นตัวหมุนเฟือง และนำบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูล สามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ไว้ในหน่วยความจำก่อนแสดงผล ซึ่งจะเป็นบัตรเจาะรูหรือพิมพ์ออกทางกระดาษ แต่ความคิดของแบบเบจ ไม่สามารถประสบผลสำเร็จเนื่องจากเทคโนโลยีในสมัยนั้นไม่เอื้ออำนวย แบบเบจเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1871 ลูกชายของแบบเบจคือ Henry Prevost Babbage ดำเนินการสร้างต่อมาอีกหลายปีและสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1910
Difference Analytical Engine
หลักการของแบบเบจ ถูกนำมาใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน แบบเบจจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
เลดี้ เอดา ออกัสตา ลัฟเลซ (Lady Ada Augusta Lovelace) นักคณิตศาสตร์ผู้ร่วมงานของแบบเบจ เป็นผู้ที่เข้าใจในผลงานและแนวความคิดของแบบเบจ จึงได้เขียนบทความอธิบายเทคนิคของการเขียนโปรแกรม วิธีการใช้เครื่องเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดความเข้าใจในผลงานของแบบเบจได้ดีขึ้น Ada จึงได้รับการยกย่องให้เป็น นักโปรแกรมคนแรกของโลก
Lady Ada Augusta Lovelace
1850 : ยอร์ช บูล (George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า Boolean Algebra เพื่อใช้หาข้อเท็จจริงจากเหตุผลต่าง ๆ และแต่งตำราเรื่อง “The Laws of Thoughts” ว่าด้วยเรื่องของการใช้เครื่องหมาย AND, OR, NOT ซึ่งเป็นรากฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับการพัฒนาทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สวิตช์ปิดหรือเปิด การไหลของกระแสไฟฟ้า ไหลหรือไม่ไหล ตัวเลขจำนวนบวกหรือลบ เป็นต้น โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้จากพีชคณิตจะมีเพียง 2 สถานะคือ จริงหรือเท็จเท่านั้น ซึ่งอาจจะแทนจริงด้วย 1 และแทนเท็จด้วย 0
ค.ศ. 1884 : ดร.เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ (Dr.Herman Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์บัตรเจาะรูสำหรับเก็บข้อมูล โดยได้แนวคิดจากบัตรควบคุมการทอผ้าของ Jacquard และวิธีการหนีบตั๋วรถไฟของเจ้าหน้าที่รถไฟ นำมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นบัตรเก็บข้อมูลขึ้น และทำการสร้างเครื่องคำนวณไฟฟ้าที่สามารถอ่านบัตรที่เจาะได้ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก เมื่อปี ค.ศ. 1880 สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริการได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้แรงงานคนในการประมวลผล ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้ไม่แน่นอนและไม่ค่อยถูกต้อง ต่อมา ค.ศ. 1890 สำนักงานฯ จึงได้ว่าจ้าง ฮอลเลอริธ มาทำการประมวลผลการสำรวจ ปรากฏว่าเมื่อใช้เครื่องทำตารางข้อมูล (Tabulating machine) และหีบเรียงบัตร (Sorting) ของฮอลเลอริธแล้ว ใช้เวลาในการประมวลผลลดลงถึง 3 ปี ค.ศ. 1896 : ฮอลเลอริธ ได้ตั้งบริษัทผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การประมวลผลด้วยบัตรเจาะรู และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machines Corporation) ในปี ค.ศ. 1924
เครื่องเจาะบัตรของ MARK 1Herman Hollerith
1937 : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบ Electromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล การส่งคำสั่งและข้อมูลเข้าไปในเครื่อง ใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ประมาณ 7 แสนชิ้น ใช้สายไฟยาวกว่า 500 ไมล์ ความยาวเครื่อง 55 ฟุต สูง 8 ฟุต กว้าง 3.5 ฟุต ใช้เวลาในการบวกหรือลบประมาณ 1/3 วินาที การคูณ 5 วินาที การหาร 16 วินาที นับว่าช้ามากถ้าเทียบกับปัจจุบัน เครื่อง MARK I ถูกนำมาใช้ทำงานตลอดวันตลอดคืนนานถึง 15 ปีเต็ม MARK I ยังไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวความคิดในปัจจุบันอย่างแท้จริง เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในขณะนั้น ค.ศ. 1943 : เจ เพรสเปอร์ เอ็คเคิร์ท (J. Presper Eckert) นักวิศวกรและ จอห์น มอชลี (John Mauchly) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ช่วยกันสร้างเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1946 นับเป็น เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก เรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator)
ENIAC
ใช้หลอดสุญญากาศมากกว่า 18,000 หลอด ติดตั้งในห้องขนาด 20 X 40 ฟุต ตัวเครื่องทั้งระบบหนักเกือบ 30 ตัน บวกเลขได้ 5,000 ครั้งต่อวินาที การคูณและหารทำได้เร็ว 6 ไมโคร วินาที นับว่าเร็วขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบการทำงานกับ MARK I แล้ว ถ้า ENIAC ทำงาน 1 ชั่วโมง จะเท่ากับเครื่อง MARK I ทำงานประมาณ 1 สัปดาห์ แต่การสั่งงานและการควบคุมยังต้องใช้สวิตช์และแผงเสียบปลั๊กทางสายไฟ ทุกครั้งที่เครื่องทำงานจะทำให้หลอดไฟฟ้าทั้งหมดสว่างขึ้น เป็นผลให้เกิดความร้อน หลอดไฟจึงมักจะขาดบ่อย ต้องตั้งเครื่องไว้ในห้องที่มีการปรับอุณหภูมิห้องให้เพียงพอ ENIAC เริ่มใช้งานในปี ค.ศ. 1946 และใช้งานประมาณ 10 จึงเลิกใช้
ในระหว่างนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการทหารสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยเกี่ยวกับโครงการสร้างลูกระเบิดปรมาณู ได้นำเอาเครื่อง MARK I และ ENIAC มาใช้ในโครงการนี้ด้วย แต่ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ค.ศ. 1945 ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr.John Von Neumann) นักคณิตศาสตร์ นักตรรกวิทยา และนักฟิสิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน พร้อม ร.ท.เฮอร์มาน โกลด์สไตน์ (Herman Goldstein) เจ้าหน้าที่สื่อสารกองทัพบกและอดีตศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน และ ดร.อาเธอร์ เบิร์คส สมาชิกแผนกปรัชญาของมิชิแกน ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่องได้ เปลี่ยนแปลงข้อมูลและเปรียบเทียบได้ และใช้ระบบตัวเลขฐานสองภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1952
แนวความคิดในการสร้างเครื่อง EDVAC ของนอยมานน์ มี 2 ประการ คือ 1. ใช้ระบบเลขฐาน 2 ประกอบด้วยตัวเลข 0 และ 1 เรียกว่า บิท (bit = binary digit) ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะของกระแสไฟฟ้า 2 ลักษณะคือ ไฟฟ้าเปิดและไฟฟ้าปิด 2. คำสั่งและข้อมูลที่จะประมวลผล ควรเก็บไว้ในเครื่อง
จากแนวความคิดเดียวกันนี้ เอ็ม. วี. วิลคส์ (M.V. wilkes) นักคณิตศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ ได้สร้างเครื่อง EDSAC (Electronic Delay Storage Automatic Computer) สำเร็จในปี ค.ศ. 1949 เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรมไว้ภายในเครื่องได้ ของอังกฤษ มีลักษณะการทำงานเหมือนกับ EDVAC แต่ใช้เทปแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูล ซึ่งเป็นวิธีการที่เร็วกว่าการใช้บัตรเจาะรู และเป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้ในอังกฤษ
ดังนั้น EDVAC ถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ต้นแบบของการสร้างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด และอาจถือได้ว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก (ในประเทศอังกฤษถือว่า EDSAC เป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก เนื่องจากว่า EDSAC สร้างเสร็จก่อน แม้ว่าจะสร้างทีหลังก็ตาม)
ค.ศ. 1949 : หลังจากที่มอชลีและเอ็คเคิร์ท ได้ร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ออกขาย แต่ประสบปัญหาทางการเงิน จึงขายกิจการให้กับบริษัท Speery Rand Corporation และได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ UNIVAC I (Universal Automatic Computer I) สำเร็จในปี ค.ศ. 1951 โดยใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อบันทึกข้อมูล นับว่าเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทางธุรกิจเป็นเครื่องแรกของโลก โดยติดตั้งให้กับบริษัท General Electric Appliance ในปี ค.ศ. 1954 ต่อมาบริษัท Speery Rand Corporation เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทยูนิแวคและยูนิซิส จนกระทั่งบริษัทไอบีเอ็ม ได้ก้าวเข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ และได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์จนเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ
EDVAC คอมพิวเตอร์ต้นแบบเครื่องแรกของโลก UNIVAC I
1953 : บริษัทไอบีเอ็ม สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ IBM 701 และในปี ค.ศ. 1954 สร้างเครื่อง IBM 650 และเป็นแบบที่ใช้กันแพร่หลายในระยะ 5 ปีต่อมา เป็นเครื่องที่ใช้หลอดสุญญากาศ ต่อมาปรับปรุงดัดแปลงมาใช้วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) เป็นวงแหวนเล็ก ๆ โดยจัดวางชิดกันเป็นแผ่นคล้ายรังผึ้ง เวลาเครื่องทำงาน ความร้อนจึงไม่สูง และเมื่อมีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ ทำให้สามารถลดขนาดเครื่องลงได้มาก ความร้อนลดลง ไม่เปลืองเนื้อที่ภายในเครื่อง ต้นปี ค.ศ. 1964 บริษัทไอบีเอ็ม สร้างเครื่อง IBM System 360 ใช้หลักไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีความในการทำงานสูงขึ้น ขนาดของเครื่องเล็กลง และมีระบบหน่วยความจำที่ดีกว่าเดิมคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากหลาย ๆ กลุ่ม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า วิทยาการที่นำสมัย ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการมากขึ้น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีประสิทธิภาพสูง ขนาดของเครื่องเล็กลง ราคาถูก เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และในอนาคตคาดว่า คอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเช่นเดียวกับเครื่องไฟฟ้าในบ้านประเภทอื่น ๆ
การแบ่งยุคคอมพิวเตอร์
การพัฒนาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ เป็น 5 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1 UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)
หลอดสุญญากาศ วงแหวนแม่เหล็ก
ยุคที่ 2 ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง
เครื่องเจาะบัตร ม้วนกระดาษเจาะรู เครื่องอ่านเทป
ยุคที่ 3 ค.ศ. 1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงเริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969
เครื่องอ่านเทปแม่เหล็ก เทปแม่เหล็ก
ยุคที่ 4 ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจ
ในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น
ยุคที่ 1 หลอดสุญญากาศ ยุคที่ 2 ทรานซิสเตอร์
ยุคที่ 3 วงจร IC ยุคที่ 4 LSI Chip
ยุคที่ 5 เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing)
ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ
ธุรกิจต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค้าส่ง ค้าปลีก คลังสินค้า และโรงงาน ผู้จัดการจะอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมากขึ้น ผู้ใช้จะพึ่งพาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ของระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการทำงานตามหน้าที่ทุก ๆ วัน การใช้คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วไป เช่น ระบบการโอนเงินทางธนาคาร ระบบชำระค่าสินค้า ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านวิศวกรรม เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติ ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการศึกษา Telecommuting เป็นระบบการสื่อสารเพื่อการทำงานภายในบ้าน และ ระบบ videotext สำหรับหาซื้อสินค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic shopping) การธนาคาร และบริการสารสนเทศถึงบ้าน จะมีความตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น สังคมจะให้ความเชื่อถือ ความมั่นใจในคอมพิวเตอร์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21
ที่มา : http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web02.htm