วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

การศึกษาไทย (Thai Education)

การศึกษาของไทยควรเริ่มต้นจากสถาบัน “ครอบครัว” คือ “บ้าน” ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกของเด็ก เป็นที่ที่เด็กได้
รับความรักและความรู้ตั้งแต่ยังแบเบาะ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ปู่ย่าตายายเปรียบเสมือน “ครู” คนแรก ที่เป็นผู้เลี้ยงดู
อบรมสั่งสอน หุงหาอาหาร ปกป้องคุ้มภัย และพยาบาลยามเจ็บป่วย หรือพาไปหาหมอ

เมื่อเด็กเล็กเดินได้ พูดจาพอรู้เรื่อง อายุครบ ๓ ขวบ ก็ถึงเกณฑ์เข้ารับ “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” ที่ถือเป็นหน้าที่ของพ่อแม่
ผู้ปกครองที่จะพาเด็กเข้าเรียน “ชั้นอนุบาล” การเรียนอนุบาลหรือเตรียมอนุบาลเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กเล็กก่อนเรียนชั้นประถมศึกษา เด็กจะได้รับการฝึกทักษะพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะทักษะการใช้มือ ความมีระเบียบวินัย
การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การพูดจาไพเราะ การไหว้ การกล่าวคำสวัสดี ขอโทษ และขอบคุณ ฝึกรับประทานอาหารเอง รู้จัก
สุขอนามัยที่ดี ฝึกทักษะมือทำงานศิลปะ เช่น ระบายสี วาดรูป ได้ออกกำลังกาย ร้องรำทำเพลง ไปจนถึงฝึกเขียนอักษร
และพยัญชนะไทย และตัวเลข การเรียนชั้นอนุบาลนี้ใช้เวลา ๓ ปี

ต่อจากนั้นเด็กจะเข้าเรียน “ประถมศึกษา” โดยใช้เวลาเรียน ๖ ปี เพื่อศึกษาหาความรู้หมวดวิชาต่างๆ ซึ่งเป็นหลักสูตร
มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต (สปช.) วิชาสร้างเสริมลักษณะนิสัย (สสน.)
การงานพื้นฐานอาชีพ (กพอ.) วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาไทย เด็กๆ จะได้ความรู้รอบตัว เปิดโลกทัศน์ของตัวเองให้กว้างขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็นและแสดงออก เห็นวี่แววความถนัดพิเศษในบางวิชาของเด็ก

เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วเด็กๆ จะเข้าเรียนต่อในระดับ “มัธยมศึกษา” ต่อเนื่องอีก ๖ ปี โดย ๓ ปีแรกเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เรียนวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา พระพุทธศาสนา สุขศึกษา พลศึกษา และศิลปศึกษา แล้วเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายอีก ๓ ปีโดยใน ๓ ปีหลังนี้เด็กจะเลือกเรียนสายใดสายหนึ่งใน ๓ สายตามความสนใจและความถนัดของตน คือ สายวิทย์ สายศิลป์-คำนวณ และสายศิลป์-ภาษา เด็กไทยจำนวนมากอาจไม่สามารถหรือไม่มีโอกาสได้เรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ เพราะความยากจน พ่อแม่ไม่สนับสนุน ต้องช่วยเหลือทางบ้านทำมาหากิน เลี้ยงน้อง บ้านไกล หรือมีอุปสรรคบางประการ สรุปว่าเด็กแต่ละคนจะใช้เวลา ๑๒ ปี
เรียนหนังสือให้จบการศึกษาภาคบังคับตามที่ภาครัฐกำหนด

อย่างไรก็ตาม เด็กและเยาวชนยังมีทางเลือกในระหว่างที่เรียนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ถ้าหากต้องการเลือกศึกษาต่อสาย
อาชีพ เพราะต้องการออกไปประกอบอาชีพสายพาณิชย์ หรือสายช่างกลด้วยมีความถนัดและรักในงานอาชีพ ก็สามารถ
เลือกเรียนต่อ “อาชีวศึกษา” ได้ โดยสายอาชีวศึกษาได้จัดเตรียมหลักสูตรเพื่อการศึกษาอีก ๓ ปีต่อจากมัธยมศึกษาปีที่
๓ จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหากศึกษาในสายอาชีวศึกษาต่อเป็นเวลา ๖ ปี จะได้รับประกาศนียบัตร
วิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าอนุปริญญา

ส่วนเด็กที่ตั้งเป้าหมายศึกษาต่อในระดับ “อุดมศึกษา” หรือ “มหาวิทยาลัย” ซึ่งจะได้รับปริญญาตรีเมื่อจบการศึกษา
ต้องจบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ และผ่านการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ โดยปัจจุบันการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
มีการเก็บผลคะแนนเฉลี่ยสะสม ๓ ปีจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ มารวมกับผลการสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยด้วย
ดังนั้นช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่จะส่งผลถึงอนาคตของเด็กและเยาวชนคือการเรียนชั้นมัธยมศึกษา ผู้ปกครองและครู
จึงมีหน้าที่ให้คำแนะนำแก่เด็ก โดยพิจารณาความสามารถของเด็ก เพื่อให้เด็กตัดสินใจเลือกทางเดินสู่อนาคตได้อย่าง
สมเหตุผลและถูกทิศทาง การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัยเปิด ซึ่ง
ระบบการศึกษาในมหาวิทยาลัยแบ่งเป็นคณะเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนรักและฝันอยากจะเป็นในอนาคต เป้า
หมายการเป็นบัณฑิตคือ การนำความรู้คู่คุณธรรมไปประกอบสัมมาอาชีพ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ วิศวกร
สถาปนิก นักวิทยาศาสตร์ นักสื่อสารมวลชน ครู/อาจารย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักการเงินการธนาคาร นักธุรกิจ เป็นต้น
เพื่อช่วยเหลือตัวเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป

เนื่องจากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโลกโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและ
ไม่สิ้นสุด ทำให้การสภาพการแข่งขันสูงด้านเศรษฐกิจการค้าทั้งในประเทศและนอกประเทศ ผู้คนขวนขวายเรียนรู้
มากขึ้น เป้าหมายการศึกษาของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่และที่มีกำลังความสามารถจึงมีความต้องการศึกษาสูงขึ้นใน
ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยมีทางเลือกที่จะเข้าศึกษาต่อกับมหาวิทยาลัยของรัฐหรือเอกชน ในประเทศและ
ต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญและมีบริการด้านการศึกษาในสาขาวิชานั้นๆ

นอกเหนือจากระบบการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในระบบนี้ แต่ก็ยังมีเด็ก
และเยาวชนด้อยโอกาสอีกจำนวนไม่น้อยที่แม้จะไม่ได้อยู่ในระบบนี้ แต่ภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชนก็
ได้ร่วมมือดูแลให้เด็กเหล่านี้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เช่น กลุ่มเด็กพิการ ตาบอด หูหนวก พิการทางสมอง พิการ
ซ้ำซ้อน เด็กออทิสติก การศึกษาพิเศษเหล่านี้นับรวมถึง ระบบการศึกษานอกโรงเรียน การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษา
ทางไกลผ่านดาวเทียม การจัดให้มีห้องสมุดชุมชนเพื่อการเรียนรู้ด้วตนเอง รวมถึงการเรียนรู้ในชุมชนด้วยภูมิปัญญา
ท้องถิ่นด้วย

เหนือสิ่งอื่นใด “การศึกษา” น่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้คนเป็น “คนที่มีคุณภาพ” เพราะการศึกษาเป็นขบวนการทำ
ให้คนมีความรู้ และมีคุณสมบัติต่างๆ ที่จะช่วยให้คนคนนั้นอยู่รอดในโลกได้ เป็นประโยชน์กับตนเอง กับครอบครัว
ประเทศชาติ และสังคมโลกโดยส่วนรวม
ขอบคุณ http://sinothai.youth.cn/jyzd/tg/200709/t20070921_593868.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น